วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิ (Thai Hom Mali Rice)

เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ลักษณะข้าวเปลือกเรียวยาว เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็นเงา แกร่ง มีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก

แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของไทย

ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตทุ่งกุลาร้องไห้) และมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมกว่า 19 ล้านไร่ทั่วประเทศ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด รองลงมาคือภาคเหนือ เนื่องจากสภาพดินฟ้า-อากาศและพื้นที่เพาะปลูกของทั้งสองภาคคล้ายคลึงกัน เหมาะแก่การเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ กล่าวคือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ชาวนาจะเริ่มหว่านไถ ในเดือนมิถุนายน และเพาะปลูกอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เมื่อฝนเริ่มหมด ปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนความชื้นจะน้อยเพราะเป็นช่วงที่ลมหนาวจากเมืองจีนเริ่มพัดเข้ามาในสองภาคนี้ ทำให้อากาศแห้งเหมาะในการเก็บเกี่ยว การตาก การนวด ก็ทำได้ง่าย เพราะน้ำแห้งนาหมดแล้ว ไม่มีฝน จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ สำหรับการปลูกข้าวหอมจะทำกันได้ดีเฉพาะที่ที่เป็นนาดอนเสียเป็นส่ณสมบัติข


ที่มาhttp://www.thaisiamboonphong.com/index.php?lay=show&ac=cat_show_pro_detail&cid=22594&pid=92975

วิถีข้าวหอมมะลิอินทรีย์ วิถีชีวิตเมืองสุรินทร์

จากกระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาพของประเทศพัฒนาแล้วในแถบสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐอเมริกาที่ต่างก็พยายามสรรหาอาหารเพื่อสุขภาพมาบริโภค ส่งผลให้ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิต-ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกมานานนับ 10 ปี ได้เร่งยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์และข้าวหอมมะลิอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการแข่งขันตามแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ จึงได้คัดเลือกจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่สุดของประเทศ ให้เป็นจังหวัดนำร่องในการขยายตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยขึ้น 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ การพัฒนาผู้ประกอบการ การขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ การสร้างมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า

คุณพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2542 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อลดต้นทุนการผลิต ฟื้นฟูระบบนิเวศให้ยั่งยืน สร้างสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมในการแข่งขันทางการค้าที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

จังหวัดได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์ ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรเห็นความสำคัญและคุณค่าของการผลิตข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ ประเมินความพร้อมของเกษตรกร รวมทั้งความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ อีกทั้งสนับสนุนให้มีการนำระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เข้ามาใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีมาตรฐานการรับรอง 3 ระดับ คือ


ที่มา:http://pre-rsc.ricethailand.go.th/knowledge/7.htm