วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

วิถีข้าวหอมมะลิอินทรีย์ วิถีชีวิตเมืองสุรินทร์

จากกระแสความตื่นตัวในเรื่องสุขภาพของประเทศพัฒนาแล้วในแถบสหภาพยุโรป (อียู) และสหรัฐอเมริกาที่ต่างก็พยายามสรรหาอาหารเพื่อสุขภาพมาบริโภค ส่งผลให้ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิต-ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกมานานนับ 10 ปี ได้เร่งยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์และข้าวหอมมะลิอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการแข่งขันตามแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ จึงได้คัดเลือกจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิคุณภาพดีที่สุดของประเทศ ให้เป็นจังหวัดนำร่องในการขยายตลาดข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และกำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยขึ้น 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ การพัฒนาผู้ประกอบการ การขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ การสร้างมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์ และสนับสนุนการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า

คุณพูลศักดิ์ ประณุทนรพาล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2542 โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อลดต้นทุนการผลิต ฟื้นฟูระบบนิเวศให้ยั่งยืน สร้างสุขภาพอนามัยที่ดีของผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมในการแข่งขันทางการค้าที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้าที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

จังหวัดได้เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์สุรินทร์ ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้เกษตรกรเห็นความสำคัญและคุณค่าของการผลิตข้าวหอมมะลิในระบบเกษตรอินทรีย์ ประเมินความพร้อมของเกษตรกร รวมทั้งความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูกก่อนเข้าสู่กระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ อีกทั้งสนับสนุนให้มีการนำระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เข้ามาใช้ในการควบคุมกระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีมาตรฐานการรับรอง 3 ระดับ คือ


ที่มา:http://pre-rsc.ricethailand.go.th/knowledge/7.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น